การพัฒนาอย่างต่อเนื่องต้องเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนระดับสูง

13

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Continual Improvement หรือเรียกย่อๆว่าCI สำหรับท่านที่ได้สัมผัสกับระบบบริหารงานคุณภาพมาไม่ว่ามากหรือน้อย จะทราบว่าเป้าหมายของการการทำระบบคือผลดำเนินงานต้องเป็นไปตามที่องค์กรตั้งวัตถุประสงค์ไว้และที่สำคัญคือต้องมีการพัฒนาทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ทรัพยากรในส่วนของ software มากพอสมควรไม่ว่าจะเป็นเวลา ข้อมูล knowledge การมีส่วนร่วมของคนในองค์กร แต่สิ่งที่กล่าวมามีองค์กรจำนวนมากมายที่ประสบความสำเร็จซึ่งหาดูได้ไม่ยากเลย ซึ่งขอสรุปแนวทางการพัฒนาเป็น 3 ส่วน โดยเริ่มจากวัตถุประสงค์การพัฒนา แหล่งข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนา และวิธีการพัฒนาวัตถุประสงค์การพัฒนา และเพิ่มผลผลิตภายในองค์กรขอแยกออกเป็น 5 เรื่อง 5 วิธีการ ที่แตกต่างกัน แต่มีจุดประสงค์ที่คล้ายคลึงกันโดยไล่เรียงตามวัตถุประสงค์ของระบบดังนี้ค่ะ

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen หรือContinuous Improvement) นวัตกรรม (Innovation) การบริหารคุณภาพที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Quality Management : TQM) Six Sigma การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน ISO 9001 (Continual Improvement) วัตถุประสงค์ของระบบคือ การปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นจากความพยายามอย่างต่อเนื่องค่อยเป็นค่อยไปใน เป้าหมายของ Kaizen หรือ Continuous Improvement คือ การปรับปรุงจากมาตรฐานเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น การปรับปรุงการทำงานประจำวันให้ดียิ่งขึ้น การคงสภาพผลการปรับปรุง

ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษใดๆ ใช้สามัญสำนึก ของพนักงานทุกคนในองค์การ ตั้งแต่ระดับบน จนถึงระดับล่างอาจมีการลงทุนบ้างเพียงเล็กน้อยวัตถุประสงค์ของระบบคือ การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนระดับสูง ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล เป้าหมาย Innovation คือ เพื่อก่อให้เกิดแนวทางการทำงานแบบใหม่ เครื่องจักรแบบใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิมเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทันทีทันใดตามความต้องการของตลาดวัตถุประสงค์ขอระบบ คือ การสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน ใช้วิธีการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า โดยใช้กลยุทธ์ทำสินค้าและบริการให้มีคุณภาพตรงกับใจของลูกค้า และสร้างความพึงพอใจ

This entry was posted in อินเตอร์เน็ต. Bookmark the permalink.

Comments are closed.