การปรับปรุงและการพัฒนาภาคการขนส่งในอนาคต

การปรับปรุงและการพัฒนาภาคการขนส่งในอนาคต

การคมนาคมและการขนส่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีการค้าโลก และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านพื้นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค โดยได้มี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบก ราง น้ำ อากาศ และโครงข่ายระบบขนส่งของประเทศ ครอบคลุมทั่วประเทศและได้มาตรฐาน

การรวมตัวเป็นประชาเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้ เกิดขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของประเทศในภูมิภาคปริมาณการขนส่งสินค้า และการเดินทางในภูมิภาคจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อรองรับเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ การเดินทางและการขนส่งของภูมิภาคจึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานของประตูการค้าและ การเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่ง การอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการขนส่งไทย

การปรับปรุงและการพัฒนาภาคการขนส่งในอนาคต

  1. การจราจรแออัด การเจริญเติบโต และการขยายตัวของเมืองแบบกระจุกตัวอยู่บริเวณ ศูนย์กลางเมือง ส่งผลให้มีความต้องการเดินทางบนถนนในช่วงเวลาเร่งด่วนจำนวนมาก ประกอบกับ การบริหารจัดการจราจรยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การจราจรเกิดการติดขัด ส่งผลต่อบรรยากาศในการเข้ามา ลงทุน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้า และบริการ จึงควรคำนึงถึงความต้องการเดินทางในลักษณะต่างๆ ที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงและเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพิ่มขึ้น และนำมาตรการจัดการความต้องการเดินทาง มาใช้เพื่อลดความแออัด ของสภาพการจราจรบนถนน
  2. ความปลอดภัย อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกว่าร้อยละ 99 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขนส่งทางถนน รองลงมาเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น กับการขนส่งทางรถไฟ โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของคน และส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ มูลค่าความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น คิดเป็นร้อยละ 8 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปไม่ควรเกินร้อยละ 1
  3. ความคล่องตัวและความสามารถในการเข้าถึง การพัฒนาและปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานต้องมีความสอดคล้องและพอเพียงกับความต้องการเดินทาง เพื่อรักษาระดับการให้บริการ และบรรเทาความคับคั่งของการจราจร ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาคอขวดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งแก้ไขปัญหา ขาดโครงข่ายเชื่อมโยงระบบขนส่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงระบบขนส่ง
  4. การใช้พลังงานในภาคการขนส่ง ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง จากต่างประเทศ ในขณะที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกมีความผันผวน และมีแนวโน้มสูงขึ้น รวมทั้งมีข้อจำกัด ด้านปริมาณการผลิตของประเทศผู้ผลิตน้ำมันชั้นนำของโลก ทั้งนี้การใช้พลังงานในภาคการขนส่งมีสัดส่วนการใช้พลังงานสูง แบ่งเป็นการใช้พลังงานในการขนส่งทางบก การขนส่งทางอากาศ และการขนส่งทางน้ำ ดังนั้น ภาคการขนส่งต้องจะคำนึงเรื่องการประหยัดพลังงาน การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทางเลือกที่มี ความหลากหลายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  5. ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการขนส่งและจราจร ได้แก่ปัญหาการเกิดภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ปัญหามลพิษทางเสียง และอากาศของยานพาหนะจากการขนส่งและจราจร ปริมาณควันดำจากยานพาหนะ ซึ่งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาสู่การขนส่ง ทางน้ำและทางราง รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ยานพาหนะที่ประหยัดพลังงาน เทคโนโลยีพลังงานสะอาด และพลังงานทดแทน จะสามารถช่วยลดมลพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากการขนส่ง และจราจรได้
  6. ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประเทศไทยควรเตรียมความพร้อม รองรับการเปิดเสรีการค้าและบริการ ไม่เพียงแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก การเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง แต่ต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสาขาขนส่งเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน สร้างกลไกการกำกับดูแลที่เข้มแข็ง ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการไทยสามารถออกไปแข่งขันในตลาดสากลได้
This entry was posted in อินเตอร์เน็ต and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.